Search This Blog

Google

Friday, September 9, 2022

แปลสวดแจง -พระสังคิณี- แปลโดยอรรถและโดยยกศัพท์

 



แปลสวดแจง -พระสังคิณี- แปลโดยอรรถและโดยยกศัพท์

======================

แปลโดยอรรถ

กุสะลา ธัมมา

ธรรมเป็นกุศล

อกุสลา ธัมมา

ธรรมเป็นอกุศล

อัพยากตา ธัมมา

ธรรมเป็นอัพยากฤต

กะตะเม ธัมมา กุสะลา

ธรรมที่เป็นกุศลเป็นไฉน

ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง

ในสมัยใด จิตที่เป็นกุศล อันนำสัตว์ไปให้เกิดในกามภพ

อุปปันนัง โหติ

เป็นจิตอันเกิดขึ้นแล้ว

โสมะนัสสะสะหะคะตัง

เป็นไปพร้อมกับจิตที่เป็นความสุขใจ

ญาณสัมปะยุตตัง

ประกอบด้วยญาณ

รูปารัมมะณัง วา

มีรูปเป็นอารมณ์บ้าง

สัททารัมมะณัง วา

มีเสียงเป็นอาราณ์บ้าง

คันธารัมมะณัง วา

มีกลิ่นเป็นอารมณ์บ้าง

รสารัมมะณัง วา

มีรสเป็นอารมณ์บ้าง

โผฏฐัพพารัมมะณัง วา

มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์บ้าง

ธัมมารัมมะณัง วา

มีธรรมเป็นอารมณ์บ้าง

ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ

ก็หรือว่า ปรารภอารมณ์ใดๆ บังเกิดขึ้น

ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ

ในสมัยนั้น ผัสสะ ย่อมเกิดขึ้น

เย วา ปะนะ ตัสมิง สะมะเย

ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ก็ย่อมบังเกิดขึ้น ในสมัยนั้น

อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา

ธรรมทั้งหลายแม้เหล่าอื่นนั้น  เป็นธรรมอันอาศัยกันและกันเกิดขึ้น

อะรูปิโน ธัมมา

เป็นแต่นามธรรม ไม่มีรูป

อิเม ธัมมา กุสะลา

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นกุศล

=================

แปลโดยยกศัพท์

=================

กุสะลา ธัมมา

ธัมมา อันว่าธรรมทั้งหลาย กุสะลา เป็นกุศล สันติ มีอยู่

อะกุสะลา ธัมมา

ธัมมา อันว่าธรรมทั้งหลาย อะกุสะลา เป็นอกุศล สันติ มีอยู่

อัพยากะตา ธัมมา

ธัมมา อันว่าธรรมทั้งหลาย อัพยากตา เป็นอัพยากฤต สันติ มีอยู่

กะตะเม ธัมมา กุสะลา

กุสะลา ธัมมา อันว่าธรรมอันเป็นกุศล กะตะเม เป็นไฉน โหนติ ย่อมเป็น

ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง

ยัสมิง สะมะเย ในสมัยใด จิตตัง อันว่าจิต กุสะลัง อันเป็นกุศล กามาวะจะรัง อันนำสัตว์ให้เกิดในกามภพ

อุปปันนัง โหติ

อุปปันนัง เป็นจิตอันเกิดขึ้นแล้ว โหติ ย่อมเป็น

โสมะนัสสะสะหะคะตัง

เป็นจิตอันไปพร้อมกับจิตที่เป็นความสุขใจ

ญาณสัมปะยุตตัง

เป็นจิตประกอบด้วยญาณ

รูปารัมมะณัง วา

เป็นจิตมีรูปเป็นอารมณ์หรือ

สัททารัมมะณัง วา

หรือเป็นจิตมีเสียงเป็นอาราณ์

คันธารัมมะณัง วา

เป็นจิตมีกลิ่นเป็นอารมณ์หรือ

รสารัมมะณัง วา

หรือว่าเป็นจิตมีรสเป็นอารมณ์

โผฏฐัพพารัมมะณัง วา

เป็นจิตมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์หรือ

ธัมมารัมมะณัง วา

หรือว่าเป็นจิตมีธรรมเป็นอารมณ์

ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ

วา ปะนะ ก็หรือว่า  จิตตัง อันว่าจิต ยัง ยัง อารัมมะณัง อารัพภะ อุปปันนัง เป็นจิต ปรารภ ซึ่งอารมณ์ใดๆเกิดขึ้นแล้ว โหติ ย่อมเป็น

ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ

ผัสโส อันว่าผัสสะ โหติ ย่อมมี สะมะเย ในสมัย ตัสมิง นั้น

เย วา ปะนะ ตัสมิง สะมะเย

วา ปะนะ ก็หรือว่า  เย ธัมมา อันว่าธรรมทั้งหลาย เหล่าใด อุปปันนา เป็นธรรมอันเกิดขึ้นแล้ว ตัสมิง สะมะเย ในสมัยนั้น โหนติ ย่อมเป็น

อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา

อัญเญปิ ธัมมา อันว่าธรรมทั้งหลายแม้เหล่าอื่น เต เหล่านั้น  ปะฏิจจะสะมุปปันนา เป็นธรรมอันอาศัยกันและกันเกิดขึ้น  สันติ มีอยู่

อะรูปิโน ธัมมา

ธัมมา เป็น(แต่)นามธรรม อะรูปิโน ไม่มีรูป โหนติ ย่อมเป็น

อิเม ธัมมา กุสะลา

ธัมมา อันว่าธรรมทั้งหลาย อิเม เหล่านี้ กุสะลา  เป็นกุศล โหนติ ย่อมเป็น.

 

แปล สวดแจง -พระสูตร - แปลทั้งโดยอรรถและโดยยกศัพท์

 



แปล สวดแจง  พระสูตร แปลทั้งโดยอรรถและโดยยกศัพท์

================

แปลโดยอรรถ

เอวัมเม สุตัง

อันข้าพเจ้า(หมายถึง พระอานนท์) ได้สดับมาแล้ว อย่างนี้

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา

ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

อันตะรา จะ ราชคะหัง, อันตะรา จะ นาลันทัง ,อทฺธานมัคคะปะฏิปันโน

เสด็จทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา

มะหะตา ภิกขุสังเฆน, สัทธิง ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป

สุปปิโย โข ปะริพพาชะโก

แม้ปริพพาชก ชื่อสุปปิยะแล

อันตะรา จะ ราชคะหัง,อันตะรา จะ นาลันทัง,อัทธานะมัคคะปะฏิปันโน

ก็เดินทางไกลระหว่างกรุงราชชคฤห์กับเมืองนาลันทา

สัทธิง อันเตวาสินา,พรหมะทัตเตนะ มาณเวนะ

พร้อมด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์

ตัตระ สุทัง

ได้ยินว่า ในระหว่างทางนั้น

สุปปิโย ปะริพพาชะโก

สุปปิยปริพพาชก

อะเนกะปะริยาเยนะ พุทธัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ, ธัมมัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ, สังฆัสสะ อวัณณัง ภาสะติ

กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า กล่าวติเตียนพระธรรม กล่าวติเตียนพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย

สุปปิยัสสะ ปะนะ ปะรืพพาชะกัสสะ อันเตวาสี, พรหมะทัตโต มาณะโณ

ส่วนว่า พรหมทัตมานณพผู้เป็นศิษย์ของสุปปิยปริพพาชก

กล่าวชมพระพุทธเจ้า กล่าวชมพระธรรม กล่าวชมพระสงฆ์ โดยอนกปริยาย

อิติหะ เต อุโภ, อาจะริยันเตสี, อัญญะมัญญัสสะ อุชุนิปัจจะกะวาทา

อาจารย์กับศิษย์ทั้งสองนั้น มีถ้อยคำขัดแย้งกันโดยตรงฉะนี้

ภะคะวันตัง ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต, อะนุพันธา โหนติ ภิกขุสังฆัสสะ

ได้เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ

 ==================

แปลโดยยกศัพท์

เอวัมเม สุตัง

เม อันข้าพเจ้า(หมายถึง พระอานนท์) สุตัง ได้ยินแล้ว เอวัง อย่างนี้

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา

สมยัง สะมะยัง ในสมัยหนึ่ง ภะคะวา อันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

อันตะรา จะ ราชคะหัง, อันตะรา จะ นาลันทัง ,อทฺธานมัคคะปะฏิปันโน

เป็นผู้ดำเนินสู่หนทางอันไกล 

ราชะคะหัง อันตะรา จ ในระหว่างแห่งกรุงราชคฤห์ด้วย นาลันทัง อันตะรา จะ ในระหว่างแห่งเมืองนาลันทาด้วย โหติ ย่อมเป็น

มะหะตา ภิกขุสังเฆน, สัทธิง ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ

สัทธิง กับ ภิกขุสังฆน ด้วยหมู่แห่งภิกษุ มะหะตา อันใหญ่ ภิกขุสะเตหิ(ปรกอบด้วย) ร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย ปัญจะมัตเตหิ อันมีประมาณ ห้า .

สุปปิโย โข ปะริพพาชะโก

ปะริพพาชะโก อันว่าปริพพาชก สุปปิโย ปิ แม้ชื่อว่าสุปปิยะ

อันตะรา จะ ราชคะหัง,อันตะรา จะ นาลันทัง,อัทธานะมัคคะปะฏิปันโน

ราชะคะหัง อันตะราจะ นาลันทัง อันตะรา จะ อัทธานะมัคคะปะฏิปันโน 

เป็นผู้ดำเนินไปสู่หนทางในระหว่างกรุงราชคฤห์ด้วย ในระหว่างเมืองนาลันทาด้วย โหติ ย่อมเป็น

สัทธิง กับ มาณะเวณะ 

ด้วยมาณพ(ชายหนุ่ม) พรัหมะทัตเตนะ ชื่อว่าพรหมทัต อันเตวาสินา ผู้เป็นศิษย์

ตัตระ สุทัง

สุทัง ได้ยินว่า ตัตระ อันตะระมัคเค ในระหว่างทนทางนั้น  

สุปปิโย ปะริพพาชะโก

ปะริพพาชะโก อันว่าปริพพาชก สุปปิโย ชื่อว่าสุปปิยะ

อะเนกะปะริยาเยนะ พุทธัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ, ธัมมัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ, สังฆัสสะ อวัณณัง ภาสะติ

ภาสะติ ย่อมกล่าว อะวัณณัง (ซึ่งความไม่ดี) พุทธัสสะ ของพระพุทธเจ้า ,ภาสะติ ย่อมกล่าว อะวัณณัง ซึ่งตวามไม่ดี ธัมมัสสะ ของพระธรรม ภาสติ ย่อมกล่าว อะวัณณัง ซึ่งความไม่ดี สังฆัสสะ ของพระสงฆ์ อะเนกะปริยาเยะ โดยอเนกปริยาย

สุปปิยัสสะ ปะนะ ปะรืพพาชะกัสสะ อันเตวาสี, พรหมะทัตโต มาณะโณ

ปะนะ ส่วนว่า มาณะโว อันว่ามาณพ พรัหมะทัตโต ชื่อว่าพรหมทัต อันเตวาสี ผู้เป็นศิษย์ ปะริพพาชะกัสสะ ของปริพพาชก สุปปิยัสสะ ชื่อว่าสุปปิยะ

อะเนกะปะริยาเยนะ พุทธัสสะ วัณณัง ภาสติ, ธัมมัสสะ วณณัง ภาสะติ, สังฆัสสะ วัณณํง ภาสะติ

ภาสะติ ย่อมกล่าว วัณณัง ซึ่งความดี พุทธัสสะ ของพระพุทธเจ้า ภาสะติ ย่อมกล่าว วัณณัง ซึ่งความดี ธัมมัสสะ ของพระธรรม ภาสะติ ย่อมกล่าว วัณณัง ซึ่งความดี สังฆัสสะ ของพระสงฆ์ อะเนกปะริยาเยนะ โดยอนกปริยาย

อิติหะ เต อุโภ, อาจะริยันเตสี, อัญญะมัญญัสสะ อุชุนิปัจจะกะวาทา

อาจะริยันเตวาสี (อาจะริยะ+ อันเตวาสี) อันว่าอาจารย์และศิษย์ทั้งหลาย อุโภ ทั้งสอง อัญญะมัญญัสสะ อุชุนิปัจจะกะวาทา (อุชุ + นิปัจจะกะ + วาทา) เป็นผู้มีวาทะอันขัดแย้งกันโดยตรง ของกันละกัน  โหนติ ย่อมเป็น อิติหะ ด้วยประการฉะนี้แล.

ภะคะวันตัง ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต, อะนุพันธา โหนติ ภิกขุสังฆัญจะ

อุโภ อาจะริยันเตวาสี อันว่าอาจารย์และลูกศิษย์ ทั้งสอง อะนุพันธา เป็นผู้เดินตาม ภะคะวันตัง จะ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย ภิกขุสังฆัง จะ ซึ่งหมู่แห่งภิกษุด้วย ปิฏฺฐิโต ปิฏฐิโต ข้างหลังๆ. โหนติ ย่อมเป็น.

แปลสวดแจง - พระวินัย - แปลโดยอรรถและโดยยกศัพท์

 



แปลสวดแจง พระวินัย

===========

แปลโดยอรรถ

ยันเตนะ ภะคะวะตา,ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา, สัมมาสัมพุทเธนะ, ปฐะมัง ปาราชิกัง, กัตถะ ปัญญัตตันติ

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติ ปฐมปาราชิก ณ ที่ใด.

เวสาลิยัง ปัญญัตตันติ

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ เมืองเวสาลี.

กัง อารัพภะติ

ถามว่า ทรงปรารภใคร .

สุทินนัง กะลันทะปุตตัง อารัพภาติ

ตอบว่า ทรงปรารภ พระสุทินน์ กลันทบุตร.

กิสมิง วัตถุสมินติ

ถามว่า เพราะเรื่องอะไร.

สุทินโน กะลันทะปุตฺโต,ปุราณะทุติยิกายะ, เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวิ, ตัสมิง วัตถุสมินติ

ตอบว่า เพราะเรื่องที่พระสุทินน์กลันทบุตร ได้เสพเมถุนธรรม(ร่วมเพศ) กับภรรยาเก่า.

เตนะ สะมะเยนะ พุทโธ ภะคะวา

โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้า

เวรัญชายัง วิหะระติ, นะเฬรุปุจิมัณฑะมูเล

ประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดา ที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา.

ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง, ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป.

อัสโสสิ โข เวรัญโช พราหมะโณ

เวรัญชพราหมณ์ได้สดับแล้วแลว่า

สะมะโณ ขะลุ โภ, โคตะโม สักยะปุตโต

ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณโคดม ศากยบุตร

สักยกุลา ปัพพะชิโต

ทรงผนวชจากศากยตระกูล

เวรัญชสยัง วิหะระติ, นะเฬรุปุจิมัณฑะมูเล

ประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา

มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง, ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ

พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  ประมาณ 500 รูป

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง โคตะมัง, เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต

ก็แล พระกิตติศัพท์อันงาม ของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า

อิติปิ โส ภะคะวา

เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภคเจ้านั้น

อะระหัง

เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ

เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

สุคะโต

เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

โลกวิทู

เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ

เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

สัตถา เทวะมะนุสสานัง

เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พุทโธ

เป็นผู้รู้

ภะคะวาติ

เป็นผู้มีความเจริญ ดังนี้.

โส อิมัง โลกัง, สะเทวะกัง, สะมาระกัง สะพรัหมะกัง,สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง, สะเทวะมะนุสสัง, สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้ง ด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม

โส ธัมมัง เทเสสิ

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมแล้ว

อาทิกัลยาณัง

ไพเราะในเบื้องต้น

มัชเฌกัลยาณัง

ไพเราะในท่ามกลาง

ปะริโยสานกัลยาณัง

ไพเราะในที่สุด

สาตถัง สะพยัญชะนัง, เกวละปะริปุณณัง, ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ

ทรงประกาศ พรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริศุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถ(โดยเนื้อความ) พร้อมทั้งพยัญชนะ(โดยตัวอักษร).

สาธุ โข ปะนะ,ตะถารูปานัง,อะระหะตัง ทัสสะนัง โหตีติ.

อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เฆ็นปานนั้น เป็นความดีแล ดังนี้.

==============================

แปลโดยยกศัพท์

ยันเตนะ ภะคะวะตา,ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา, สัมมาสัมพุทเธนะ, ปะฐะมัง ปาราชิกัง, กัตถะ ปัญญัตตันติ

ปุจฉา อันว่าอันถาม อิติ ว่าดังนี้ ปาราชิกัง อันว่าสิกขาบทปาราชิก ปะฐะมังที่ 1 ยัง ใด ภะคะวะตา อันพระผู้มีพระภาค ชานะตา ผู้ทรงรู้ ปัสสะตา ผู้ทรงเห็น อะระหะตา ผู้เป็นพระอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเธนะ ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า เตนะ พระองค์นั้น ปัญญัตตัง ทรงบัญญัติแล้ว กัตถะ ฐาเน  ณ ที่ไหน.

เวสาลิยัง ปัญญัตตันติ

วิสัชชะนัง อันว่าอันแก้ อิติ ว่าดังนี้ ปฐมัง ปาราชิกัง อันว่าปาราชิก สิกขาบทที่ 1 ภควะตา อันพระผ๔มีพระภาคเจ้า ปัญญัตตัง ทรงบัญญัติแล้ว เวสาลิยัง ณ เมืองเวสาลี.

กัง อารัพภะติ

ปุจฉา อันว่าอันถาม อิติ ว่าดังนี้ ปะฐะมัง ปาราชิกัง อันว่า ปาราชิก สิกขาบทที่ 1 ภะคะวะตา อันพระผู้มีพระภาคเจ้า อารัพภะ ปรารภ กัง ซึ่งใคร ปัญญัตตัง ทรงบัญญัติแล้ว.

สุทินนัง กะลันทะปุตตัง อารัพภาติ

วิสัขขะนัง อันว่าอันแก้ อิติ ว่าดังนี้ ปะฐะมัง ปาราชิกัง อันว่า ปาราชิก สิกขาบทที่ 1 ภะคะวะตา อันพระผู้มีพระภาคเจ้า อารัพภะ ปรารภ สุทินนัง  ซึ่งพระสุทิน กะทันทะปุตตัง ผู้กลันทบุตร  ปัญญัตตัง ทรงบัญญัติแล้ว.

กิสมิง วัตถุสมินติ

ถามว่า เพราะเรื่องอะไร.

ปุจฉา อันว่าอันถาม อิติ ว่าดังนี้ ปะฐะมัง ปาราชิกัง อันว่า ปาราชิก สิกขาบทที่ 1 ภะคะวะตา อันพระผู้มีพระภาคเจ้า อารัพภะ ปรารภ สุทินนัง  ซึ่งพระสุทิน กะทันทะปุตตัง ผู้กลันทบุตร  ปัญญัตตัง ทรงบัญญัติแล้ว กิสมิง วัตถุสมิง ในเพราะเรื่องอะไร.

สุทินโน กะลันทะปุตฺโต,ปุราณะทุติยิกายะ, เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวิ, ตัสมิง วัตถุสมินติ

วิสัชชะนัง อันว่าอันแก้ อิติ ว่าดังนี้ ปะฐะมัง ปาราชิกัง อันว่าปาราชิก สิกขาบทที่ 1 ภะคะวะตา อันพระผู้มีพระภาคเจ้า อารัพภะ ปรารภ สุทินนัง  ซึ่งพระสุทิน กะทันทะปุตตัง ผู้กลันทบุตร  ปัญญัตตัง ทรงบัญญัติแล้ว  สุทินฺโน อันว่าพระสุทิน กะลันทปุตโต ผู้กลันทบุตร ปะฏิเสวิ เพสมแล้ว เมถุนํ ธัมมัง ซึ่งธรรมะ อันเป็นของคนคู่ ปุราณะทิติยิกายะ กับด้วยภรรยาเก่า ยัง ใด  สัสมิง วัตถุสมิง ในเพราะเรื่องนั้น.

เตนะ สะมะเยนะ พุทโธ ภะคะวา

เตนะ สะมะเยนะ โดยสมัยนั้น ภะคะวา อันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า พุทโธ ผู้เป็นพระพุทธเจ้า

เวรัญชายัง วิหะระติ, นะเฬรุปุจิมัณฑะมูเล

วิหะระติ ประทับอยู่ นะเฬรุปุจิมัณฑะมูเล ณ ควงไม้สะเดา อันนเฬรุยักษ์สิงสถิต เวรัญชายัง ในเขตเมืองเวรัญชา.

ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง, ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ

สัทธิง กับ ภิกขุสังเฆนะ ด้วยหม่แห่งภิกษุ ภิกขุสะเตหิ (อันประกอบด้วย) ร้อยแห่งภิกษุ ปัญจะมัตเตหิ อันมีประมาณ 5 (500 รูป)

อัสโสสิ โข เวรัญโช พราหมะโณ

พราหมะโณ อันว่าพราหมณ์ เวรัญโช ชื่อว่าเวรัญชะ อัสโสสิ โข ได้ฟังแล้วแล อิติ ว่าดังนี้

สะมะโณ ขะลุ โภ, โคตะโม สักยะปุตโต

โภ ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขะลุ ได้ยืนว่า สะมะโณ อันว่าพระสมณะ โคตโม ผู้พระโคดม สักยะปุตโต ผู้เป็นบุตรแห่งชาวศากยะ

สักยกุลา ปัพพะชิโต

ปัพพะชิโต ทีงผนวช(บวช)แล้ว สักยกุลา จากตระกูลแห่งศากยะ

เวรัญชายัง วิหะระติ, นะเฬรุปุจิมัณฑะมูเล

วิหะระติ ประทับอยู่ นะเฬรุปุจิมัณฑะมูเล ณ ควงแห่งไม่สะเดาอันมีนะเรฬุยักษ์สิงสถิตอยู่ เวรัญชายัง ในเขตเมืองเวรัญชา

มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง, ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ

สัทธิง กับ ภิกขุสังเฆนะ ด้วยหมู่แห่งภิกษุ มหันเตนะ อันใหญ่ ภิกฺขุสะเตหิ (อันประกอบด้วย) ร้อยแห่งภิกุษุทั้งหลาย ปัญจะมัตตานิ อันมีประมาณ 5

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง โคตะมัง, เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต

ปะนะ ก็ กิตติสัทโท อันว่ากิตติศัพท์ กัลยาโณ อันงดงาม ภะคะวันตัง ของพระผู้มีพระภาคเจ้า โคตะมัง ผู้พระโคตมะ ตัง โข นั้นแล อัพภุคคะโต ฟุ้งขจรไปแล้ว อิติ ว่า ดังนี้

อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ แม้เพราะเหตุนั้น ภะคะวา อันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า โส นั้น

อะระหัง

เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ

เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

สุคะโต

เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

โลกวิทู

เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ

เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

สัตถา เทวะมะนุสสานัง

เทวะมะนุสสานัง สัตถา เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พุทโธ

เป็นผู้รู้

ภะคะวาติ

(ภะคะวา อิติ) เป็นผู้มีความเจริญ ดังนี้.

โส อิมัง โลกัง, สะเทวะกัง, สะมาระกัง สะพรัหมะกัง,สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง, สะเทวะมะนุสสัง, สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ

โส ภะคะวา อันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัจฉิกัตวา ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว อะภิญญาย ด้วยความรู้ยิ่ง สะยัง ด้วยพระองค์เอง ปเวเทติ ทรงสอนอยู่ โลกัง ซึ่งโลก อิมัง นี้ สะเทวะกัง กับด้วยเทวดา สะพรัหมะกัง กับด้วยพรหม ปะชัง ซึ่งหมูสัตว์ สัสสะมะณะพราหมะณิง กับด้วยสมณะและพราหมณ์

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้ง ด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและ

มนุษย์ให้รู้ตาม

โส ธัมมัง เทเสสิ

โส ภะคะวา อันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เทเสสิ ทรงแสดงแล้ว ธัมมัง ซึ่งธรรม

อาทิกัลยาณัง

อันไพเราะในเบื้องต้น

มัชเฌกัลยาณัง

อันไพเราะในท่ามกลาง

ปะริโยสานกัลยาณัง

อันไพเราะในที่สุด

สาตถัง สะพยัญชะนัง, เกวละปะริปุณณัง, ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ

ปะกาเสสิ ทรงประกาศแล้ว พรัหมะจะริยัง ซึ่งพรหมจรรย์ (แนวทางปฏิบัติอันประเสริฐ)  ปะริสุทธัง อันบริสุทธิ์ เกวะละปุณณัง อันบริบูรณ์อย่างสิ้นเชิง สาตถัง พร้อมทั้งอรรถ(โดยเนื้อความ) สะพยัญชะนัง พร้อมทั้งพยัญชนะ(โดยตัวอักษร).

สาธุ โข ปะนะ,ตะถารูปานัง,อะระหะตัง ทัสสะนัง โหตีติ.

ปะนะ ก็ ทัสสะนัง อันว่าการเห็น อะระหะตัง ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลาย ตะถารูปานัง ผู้มีรูปอย่างนั้น สาธุ โข เป็นความดี แล โหติ ย่อมเป็น.

Followers